

















วันที่ 12 มิถุนายน 2563 เวลา 17.15 น. อาคารโรงยิม สนามกีฬาจิรนคร อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ส.ส.สงขลา นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ อดีต ส.ส.สงขลา นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง นายฮอซาลี ม่าเหร็ม ผู้สมัคร จ.สตูล นายเกตุชาติ เกษา นายสรรเพชร บุญญามณี ผู้สมัคร จ.สงขลา นายถนอมศักดิ์ แปะเส้ง กรรมการบริหารพรรค สาขาพรรค และสมาชิกพรรคจำนวนมาก พร้อมคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภาคใต้ มอบสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวซาเล้ง รถเร่ รถปิคอัพ สามล้อ สี่ล้อ จังหวัดสงขลา ที่อาคารโรงยิม สนามกีฬาจิรนคร อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ใกล้ชิด จริงใจ นายจุรินทร์เดินทักทายประชาชน พร้อมกล่าวดีใจได้มีโอกาสมาพบกับพี่น้อง และว่าตนก็คนปักษ์ใต้บ้านเราเหมือนพี่น้องส่วนใหญ่ที่นี่ และถามถึงภูมิลำเนาของชาวซาเล้งที่บางรายมาจากพิจิตร บางรายมาจากประจวบฯ มาอยู่ใต้เพื่อมาประกอบอาชีพแต่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนใต้ ชาวซาเล้งบางรายขอบคุณนายจุรินทร์ที่ราคาเศษกระดาษที่ซาเล้งเก็บไปขายในจังหวัดสงขลาได้อยู่ไปที่ 2.50 บาท ซึ่งขึ้นมาจากก่อนที่นายจุรินทร์จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอนนั้นยังต้องไปร้องเรียนกันอยู่เพราะราคาตอนนั้นอยู่ที่ 50 สตางค์เกือบทั่วประเทศ นายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทำให้ได้มีโอกาสพบกับพี่น้องชาวซาเล้งทุกคนเพราะย้อนหลังไปสัก 5-6 เดือนที่แล้วพวกเรา(ชาวซาเล้ง)เดือดร้อนมาก เก็บเศษกระดาษได้กิโลกรัมละ 50 สตางค์ไม่คุ้มค่าเดินทาง ไม่คุ้มค่าน้ำมัน เดือดร้อนมาก ก็พากันมาพบผมที่กระทรวงพาณิชย์ นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปีที่ตั้งแต่ตั้งกระทรวงพาณิชย์มาที่ได้มาดูแลชาวซาเล้ง เพราะได้แก้ปัญหาร่วมกันกับอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับราคาเศษกระดาษให้พี่น้อง เลยได้หลักคิดว่าเอากระบวนการรับซื้อของเก่าทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมาคุยกัน ปรากฏว่ามี 4 ฝ่าย 1.ฝ่ายซาเล้ง 2.ฝ่ายร้านรับซื้อของเก่า 3.โรงงานแปรรูป โรงเยื่อกระดาษ และสุดท้าย 4.โรงงานทำกระดาษรีไซเคิล ทุกฝ่ายมาคุยกัน “คุยกันเองครั้งที่หนึ่งไม่สำเร็จ คุยครั้งที่สองก็ไม่จบ ครั้งที่สามก็ไม่จบ มาจบลงครั้งที่สี่ ก็กว่าจะเสร็จ ผมมาเป็นประธานครั้งที่ห้า สุดท้ายได้ข้อสรุปว่าขอให้ช่วยซื้อเศษกระดาษจากซาเล้งจากกิโลกรัมละ 50 สตางค์ เป็นสักอย่างน้อย 2 บาท สุดท้ายได้รับความร่วมมือจากร้านรับซื้อของเก่า โรงต้มเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตกระดาษรีไซเคิล ช่วยกันแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาจุนเจือจนถึงปลายทางคือพี่น้องซาเล้ง วันนี้เศษกระดาษไม่ใช่กิโลกรัมละ 2 บาทแล้ว ที่สตูลบางคนได้กิโลกรัมละ 3 บาทแล้ว ที่นี่มีคนบอกว่าได้กิโลกรัมละ 2.50 บาท ก็ถึงว่าจะให้ค่อยๆดีขึ้น และมีหลักประกันว่าไม่ให้ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 2 บาทให้พวกเรายังชีวิตได้” นายจุรินทร์ กล่าว นายจุรินทร์ ระบุว่า ชาวซาเล้งรวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมขึ้นมาเป็นครั้งแรก เป็นประวัติศาสตร์แรกที่ชาวซาเล้งได้ขึ้นทะเบียนประกอบอาชีพ มีตัวแทนคอยเจรจากับรัฐ ตนได้ช่วยให้จดทะเบียนสมาคม เป็นสมาคมผู้ประกอบการค้าของเก่า ให้โดยกระทรวงพาณิชย์จดให้ มีสมาคมชาวซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่าจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว “และผมยินดีช่วยเหลือพวกเราตลอดไป ซาเล้งเพื่อนยากทุกคน เราจะไม่ทิ้งกัน” นายจุรินทร์ กล่าวต่อพี่น้องซาเล้งหรือคนเก็บและรับซื้อของเก่าภาคใต้ที่มารับถุงยังชีพวันนี้