ประวัติพรรคประชาธิปัตย์

คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” 
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party)ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 เป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,874,860 คน และมีสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 195 สาขา นับแต่วันก่อตั้งพรรคจนถึงปัจจุบันมีหัวหน้าพรรคมาแล้วรวม 7 คน ในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคคนแรก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย นายอภิสิทธ์ิ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 สมัย

68ปี ประชาธิปัตย์เคียงคู่ประชาชน บนวิถีทางประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมือง ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติพรรคการเมืองโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 มีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น เลขาธิการพรรคคนแรก ตลอดระยะเวลา 65 ปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำแนกได้เป็น 5 ยุค คือ

ยุคที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2501) : ยุคแห่งการสร้างพรรคและสร้างประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
ในระยะแรกหลังการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มต้น
การดำเนินการทางการเมืองอยู่ในวงแคบ พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยมีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยุติลงชั่วคราว เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจ
การปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501

ยุคที่สอง (พ.ศ. 2511-2519) : ยุคแห่งการฟื้นฟูพรรคและเชิดชูประชาธิปไตย
ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511ทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญ ดังนี้

  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
  • โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

ยุคที่สาม (พ.ศ. 2522-2533) : ยุคแห่งการปรับปรุงนโยบายและเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง
ในปี 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็น
การเข้าสู่ยุคที่สามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5)
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

ยุคที่สี่ (ปลายปี พ.ศ. 2533-2544) : ยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ
ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากนั้นได้เกิดผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรง นำไปสู่เหตุการณ์ยึดอำนาจของ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.)” และเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด

ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองในยุคที่สี่นี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามีบทบาทต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน จนกระทั่งเหตุการณ์สงบและนำไปสู่การเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 79 คน และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลกีภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้เ้ข้า้บริหารประเทศเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง จนถึงกลางปี 2538 เหตุการณ์ทางการเมืองได้เกิดพลิกผันอีกครั้ง และนำไปสู่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 86 คน และดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ติดตามตรวจสอบการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลจนในที่สุดนายบรรหาร ศลิปอาชา ต้องประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539

หลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่ โดยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเป็นระยะเวลา 11 เดือนเศษ ในปี 2540 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ ที่เกิดจากความล้มเหลวในการปกป้องค่าเงินบาทจนในที่สุด พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในขณะนั้นต้องไปกู้เงินจาก “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)” เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ จึงประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของชาติในครั้งนั้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ได้ปฏิบัติภารกิจจนครบวาระของรัฐบาลในปลายปี 2543 และจัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544

ยุคที่ห้า (พ.ศ. 2544-2551) : ยุคแห่งการต่อสู้เผด็จการรัฐสภา และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อน
หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยนำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหาร
ประเทศ โดยมีการยุบรวมพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กกว่า อาทิพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรมเข้าด้วย ทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสียงในสภาจำนวน 294 เสียง ต่อมาภายหลังมีการยุบรวมพรรคชาติพัฒนาเข้าด้วยอีกทำให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส. ถึง 319 คน เมื่อไปร่วมกับพรรคชาติไทย 24 คน และพรรคความหวังใหม่ที่เหลืออีก 1 คน ทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภามากถึง 344 เสียง คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส. เพียง 128 คน ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านต่อสู้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาอย่างเข้มแข็ง เพื่อคัดค้านการใช้กลไกของรัฐสภาในการออกกฎหมายและต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมและเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง จนเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน กระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548

การเลือกตั้งในปี 2548 ถือเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยมีความฮึกเหิมเป็นอย่างยิ่ง การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกครอบงำทั้งโดยอำนาจรัฐและอำนาจเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ถูกตั้งข้อ สังเกตในความไม่เ่ป็นกลาง และเอื้อประโยชน์ใ์ห้แ้ก่พรรคการเมืองบางพรรคหลังการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้ง 377 คน พรรคประชาธิปัตย์ 96 คน พรรคชาติไทย 25 คน พรรคมหาชน 2 คน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น คือ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค

รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 นอกจากจะคุมเสียงเบ็ดเสร็จในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังพยายามดึงสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนให้มาเป็นพวกเพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล มีการแทรกแซงสื่อสารมวลชน องค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีต่างๆ อาทิ คดีซุกหุ้น คดียุบพรรคไทยรักไทย

พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ด้วยความเข้มแข็ง ต่อสู้กับอำนาจทั้งในระบบและนอกระบบ
อย่างกล้าหาญ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาเพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กองทุนเทมาเส็ก และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549

การเมืองในช่วงดังกล่าวมีความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างหนักคดีการเลือกตั้งทุจริตของพรรคไทยรักไทยและคดีการเลือกตั้งในปี 2548
เกิดความไม่เป็นธรรมทั่วประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ประท้วงการเลือกตั้งด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ต่อสู้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่พรรคไทยรักไทยได้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนในที่สุดศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้ กกต. ทั้ง 3 คนมีความผิดทางอาญา ลงโทษจำคุก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะและให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่แล้วในที่สุดก็ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า ได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต้องสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ กระทั่งตกเป็นนักโทษในคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจนปัจจุบัน

เมื่อรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศได้ 1 ปีเศษ ก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคไทยรักไทยซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินและมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้งด้วยจำนวน ส.ส.232 คน พรรคพลังประชาชนได้ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมีพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีจำนวน ส.ส. 164 คน เป็นฝ่ายค้านการบริหารประเทศโดยรัฐบาลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่า ถูกต่อต้านจากประชาชนเป็นวงกว้างจนเกิดการรวมตัวขึ้นเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อมานายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน 2 คน ต้องพ้นจากตำแหน่งไป พร้อมๆ กับการถูกยุบพรรคพลังประชาชนอีกครั้งด้วยคดีทุจริตการเลือกตั้ง แล้วเปลี่ยนไปใช้ชื่อพรรคเพื่อไทย

เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนทำให้เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงในประเทศ ความไม่ชอบธรรมในการบริหารบ้า้นเมืองของรัฐบาลทำให้เ้กิด วิกฤตนึ้กับประเทศไทยอีกครั้ง แต่ในที่สุดเมื่อพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะนั้นประสบปัญหาจึงได้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ธันวาคม 2551จึงนับเป็นการยุติบทบาทการเป็นฝ่ายค้าน 8 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์และกลับเข้าเป็นรัฐบาลของประชาชนเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในภาวะวิกฤติ มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมือง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันนี้

จวบจนมีการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 และมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 115 คน รวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ระบบ 160 คน

รายชื่อหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

นายควง อภัยวงศ์
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 1
พ.ศ.2489-15 มี.ค.2511

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 2
2511-26 พ.ค.2522

พ.อ.ถนัด คอมันตร์
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 3
26 พ.ค.2522-3 เม.ย.2525

นายพิชัย รัตตกุล
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 4
3 เม.ย.2525-26 ม.ค.2534

นายชวน หลีกภัย
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 5
26 ม.ค.2534-6 พ.ค.2546

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 6
6 พ.ค.2546-15 มี.ค.2548

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 7
15 มี.ค.2548-24 มี.ค. 2562

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 
เป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 8
15 พ.ค. 2562-ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

1. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช   6 เมษายน 2489 – 16 กันยายน 2491
2. นายเทพ โชตินุชิต   17 กันยายน 2491 – 25 มิถุนายน 2492
3. นายชวลิต อภัยวงศ์   มิถุนายน 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494
4. นายใหญ่ ศวิตชาติ   30 กันยายน 2498 – 20 ตุลาคม 2501
5. นายธรรมนูญ เทียนเงิน   26 กันยายน 2513 – 6 ตุลาคม 2518
6. นายดำรง ลัทธิพิพัฒน์   13 พฤศจิกายน 2518 – 6 ตุลาคม 2521
7. นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์   3 กุมภาพันธ์ 2522 – 26 พฤษภาคม 2522
8. นายมารุต บุนนาค   26 พฤษภาคม 2522 – 3 เมษายน 2525
9. นายเล็ก นานา   3 เมษายน 2525 – 5 เมษายน 2529
10. นายวีระ มุสิกพงศ์   5 เมษายน 2529 – 10 มกราคม 2530
11. พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์   10 มกราคม 2530 – 10 สิงหาคม 2543
12. นายอนันต์ อนันตกูล   17 สิงหาคม 2543 – 6 พฤษภาคม 2546
13. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์   6 พฤษภาคม 2546 – 10 กุมภาพันธ์ 2548
14. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ   5 มีนาคม 2548 – 20 กรกฎาคม 2554
15. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน   2 กันยายน 2554 – 13 ธันวาคม 2556
16. นายจุติ ไกรฤกษ์   31 มกราคม 2557 – 24 มี.ค. 2562
17. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน   15 พ.ค. 2562 – ปัจจุบัน

จำนวน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ พ.ศ.2500-2562

วันเลือกตั้ง กทม. กลาง ใต้ เหนือ อีสาน บัญชีรายชื่อ รวม ส.ส.ทั้งสภา
26 ก.พ. 2500 4 1 6 7 12 30 160
15 ธ.ค. 2500 11 4 8 13 3 39 160
30 ม.ค. 2501 12 1 13 26
10 ก.พ. 2512 21 4 9 13 8 55 219
26 ม.ค. 2518 23 12 15 17 5 72 269
4 เม.ย. 2519 28 17 29 15 24 114 279
22 เม.ย. 2522 1 3 15 7 9 35 301
18 เม.ย. 2526 8 2 25 8 13 56 324
27 ก.ค. 2529 16 10 36 10 28 100 347
24 ก.ค.2531 5 4 16 6 17 48 357
22 มี.ค. 2535 1 26 5 12 44 360
13 ก.ย. 2535 9 9 36 8 17 79 360
2 ก.ค. 2538 7 7 46 12 14 86 391
17 พ.ย. 2539 29 14 47 21 12 123 393
6 ม.ค. 2544 9 18 48 18 5 32 130 500
6 ก.พ. 2548 4 7 52 5 2 26 96 500
23 ธ.ค. 2550 27 35 49 15 5 33 164 480
3 ก.ค. 2554 23 25 50 13 4 44 160 500
24 มี.ค. 2562 8 22 1 2 19 52 500